หลังคาสกายไลท์ ทำยากมั้ย?

     เชื่อว่าท่านผู้อ่านหลายๆท่านน่าจะเคยจินตนาการถึงบ้านที่มีหลังคากระจกหรือสกายไลท์(sky light) เอาไว้รับแสงแดดอ่อนๆยามเช้า ระหว่างนั่งจิบกาแฟ หรือเอาไว้ดูดาวตอนกลางคืน คงจะดีไม่น้อย

     แต่หลายท่านก็อาจจะกังวลถึงปัญหาต่างๆ หรือไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงดี บทความนี้อาจช่วยให้คุณมองเห็นรายละเอียดต่างๆของเจ้าหลังคาสกายไลท์นี้มากยิ่งขึ้น

      ถ้าหากอยากมีห้องที่มีหลังคาสกายไลท์เราควรเตรียมตัว หรือ ออกแบบเพื่อรองรับหลังคาไว้อย่างไรกันบ้าง เรามาดูกัน

      ก่อนอื่นเรามาดูข้อจำกัดของหลังคาสกายไลท์ของwindsorกันก่อน

      ข้อแรกเรื่องความยาวของหลังคา ตามลักษณะโครงสร้างแล้วเราให้ระยะปลอดภัยไว้ที่ประมาณ1.20ม. จากผนัง บางท่านอาจจะมองว่าน้อยจัง ทำอะไรแทบไม่ได้ แต่เราสามารถออกแบบบ้านให้สอดคล้องกับข้อจำกัดเพื่อให้มีพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นได้ เรามาดูตัวอย่างกัน

      ถ้าหากเป็นระเบียงยื่นออกจากผนังเมตรกว่าๆแล้วกั้นสกายไลท์อาจน้อยแต่ถ้าเราเปิดผนังห้องให้เป็นส่วนเดียวกับระเบียง เกือบทั้งห้องก็จะได้รับแสงธรรมชาติให้บรรยากาศอบอุ่นขึ้นมาทันที

  

 

 

           หรือถ้ามีระเบียงยื่นอยู่ด้านบนประมาณหนึ่งเมตร แล้วเราติดสกายไลท์ต่อจากระเบียงออกมาอีกเมตรกว่าๆพื้นที่

ใช้สอยก็จะกว้างสองเมตรกว่า ซึ่งน่าจะตกแต่งได้ง่ายและไม่อึดอัดจนเกินไป

                         ในภาพจะเห็นว่ามีระเบียงยื่นมาประมาณหนึ่งเมตร แต่ต่อสกายไลท์ออกมาเพียงห้าสิบเซนติเมตร

ถ้าต่อสกายไลท์ออกไปเป็นหนึ่งเมครยี่สิบเซนติเมตร ห้องนี้ก็จะกว้างพอที่จะใช้งานได้หลากหลายเลยทีเดียว

 

     เห็นมั้ยครับแค่เราปรับแบบเล็กน้อยเพียงเท่านั้นห้องสกายไลท์ของเราก็จะมีพื้นที่ใช้สอยคุ้มค่ากับราคา(แสนแพง)ของเค้า

     ข้อที่สองเป็นข้อจำกัดทางเทคนิคของทรงหลังคา ที่ต้องมีความลาดเอียงอย่างน้อย20 องศา เพื่อการระบายน้ำที่ดี

และหักมุมลงมาอีกอย่างน้อย30ซ.ม.

       นั่นทำให้ด้านปลายล่างสุดของหลังคาสกายไลท์เตี้ยกว่าด้านติดผนังอย่างน้อย 50-60ซ.ม. ซึ่งถ้าด้านติดผนัง

ไม่สามารถติดตั้งสูงได้เนื่องจากติดบัวหรือระเบียงยื่นชั้นบน จะทำให้แนวขอบล่างของหลังคาสกายไลท์

เตี้ยเกินไปอาจเตี้ยกว่า190ซ.ม. จนบังแนวสายตา

           ในกรณีที่สุดวิสัยไม่สามารถขยับหลังคาสกายไลท์ขึ้นได้อาจจำเป็นต้องลดความลาดชันของหลังคาลงเล็กน้อย

แต่ก็ต้องเสี่ยงกับปํญหาการระบายน้ำได้ช้าจนอาจเกิดการรั่วซึมตามมาได้  เพราะฉนั้นในขั้นตอนออกแบบหรือก่อสร้าง

ต้องคำนึงจุดนี้ด้วยนะครับจะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง

         มีข้อแนะนำอีกนิดสำหรับเมืองร้อนอย่างเมืองไทยห้องที่มีหลังคาสกายไลท์ไม่ควรอยู๋ในทิศที่รับแสงอาทิตย์ใน

ปริมาณมากหรือทิศตะวันตก เพราะแดดบ่ายจะแรงจนทำให้ห้องร้อนเกินไป

       เห็นมั้ยครับการที่จะสร้างห้องที่มีหลังคาสกายไลท์สักห้องนึงไม่ได้ยากจนเกินไปใช่มั้ยครับ เพียงแค่เราคำนึงถึง

ข้อจำกัดต่างๆ และออกแบบโครงสร้างให้สอดรับกัน เพียงเท่านี้ ห้องสกายไลท์ของเราก็จะสวยสมใจ ใช้งานได้จริง

และไม่มีปัญหากวนใจตามมาภายหลัง จริงมั้ยครับ

      แต่ยังไม่จบแค่นี้นะครับ ตอนต่อไปเราจะมาดูรายละเอียดในการติดตั้งกันว่าควรทำอะไรบ้างเพื่อป้องกันน้ำรั่วซึม

อันเป็นปัญหาที่ต้องระมัดระว้งที่สุดในการติดตั้งเลยทีเดียว

 

 

 

 

                                                                                 บทความและภาพประกอบโดย :  อาคม นิ่มทรงประเสริฐ